ระบบโซล่าเซลล์ เพื่อบ้านพักอาศัย
คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์นั้น จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที รวมทั้งสามารถเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้งานภายหลังได้ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานสะอาดและไม่สร้างมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อมและไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Co2) เหมือนกับแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น น้ำมัน, โรงไฟฟ้าที่มีกระบวนการผลิตจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน โซล่าเซลล์ (Solar Cell) เป็นพลังงาน ที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดไป
คือระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยรวมขอดีของทั้ง solar on grid กับ off grid กล่าวคือ ระบบมีการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าสำหรับช่วงที่ไม่มีแดดและมีการใช้แบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานส่วนที่ผลิตเหลือในตอนกลางวันไปใช้งาน
ในตอนกลางคืนด้วย
(คล้ายๆ รถยนต์ hybrid ที่มีการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์และชาร์ตแบตเตอรี่ไปในขณะที่เบรค)
คือ ระบบ solar cell ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกเก็บในแบตเตอรี่ และนำมาใช้งานเมื่อเราเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยปริมาณความจุของแบตเตอรี่ (จำนวนลูกแบตเตอรี่) จะขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้พลังงานของบ้านแต่ละหลัง
เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหรือสายส่งจากระบบการไฟฟ้า ซึ่งในลักษณะนี้จะเรียกกว่าการเชื่อมต่อระบบเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์
(ก่อนการติดตั้งจะต้องขออนุญาตการไฟฟ้าเสมอ) ซึ่ง On Grid ถือเป็นระบบ
ที่คุ้มค่ามากที่สุดในตอนนี้
คือระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยรวมขอดีของทั้ง solar on grid กับ off grid กล่าวคือ ระบบมีการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าสำหรับช่วงที่ไม่มีแดดและมีการใช้แบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานส่วนที่ผลิตเหลือในตอนกลางวันไปใช้งาน
ในตอนกลางคืนด้วย
(คล้ายๆ รถยนต์ hybrid ที่มีการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์และชาร์ตแบตเตอรี่ไปในขณะที่เบรค)
คือ ระบบ solar cell ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกเก็บในแบตเตอรี่ และนำมาใช้งานเมื่อเราเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยปริมาณความจุของแบตเตอรี่ (จำนวนลูกแบตเตอรี่) จะขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้พลังงานของบ้านแต่ละหลัง
เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหรือสายส่งจากระบบการไฟฟ้า ซึ่งในลักษณะนี้จะเรียกกว่าการเชื่อมต่อระบบเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์
(ก่อนการติดตั้งจะต้องขออนุญาตการไฟฟ้าเสมอ) ซึ่ง On Grid ถือเป็นระบบ
ที่คุ้มค่ามากที่สุดในตอนนี้
อินเวอร์เตอร์ แบบออนกริด จะทำงานเมื่อมีเงื่อนไขว่า มีไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ และมีไฟบ้านจึงจะทำงานได้ เนื่องจากเป็นการป้องกันเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับแล้วเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาซ่อมไฟ อาจได้รับอันตรายได้ โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ จะถูกนำมาใช้งานในตอนกลางวัน แต่เมื่อมีการใช้ไฟมากเกินว่าระบบผลิตได้ ระบบจะจ่ายไฟบ้านเข้ามาเสริมอีกแรง และเมื่อตอนเย็นใกล้ค่ำโวลท์ของแผงโซลาร์จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อต่ำถึงเกณฑ์ที่กำหนด อินเวอร์เตอร์ จะปิดตัวลงอัตโนมัติและกลับไปใช้ไฟบ้านตามปกติ รอรุ่งเช้าของวันใหม่เมื่อมีแสงสว่างโวลท์ของแผงโซลาร์จะค่อยๆสูงขึ้น ทำให้อินเวอร์เตอร์กลับมาทำงานอีกครั้ง
มาตรฐาน มอก. 1843 หรือได้รับรอบมาตรฐาน IEC 61215
PV Module ชนิด Thin Film มาตรฐาน มอก. 2210 หรือได้รับรอบมาตรฐาน IEC 61646
On Grid Inverter มาตรฐาน IEC 62109-1,IEC 62109-1,IEC 61727 และ IEC621106 (และต้องผ่านการรับรองจากการไฟฟ้าที่รับผิดชอบ ณ.จุดติดตั้ง)
DC Breaker มาตรฐาน IEC 60947-2
Disconnection Switch มาตรฐาน IEC 60947
PV Cable (DC Cable) ทนอุณหภูมิได้ไม่น้อยกว่า 80 ํC หรือเป็นสายไฟฟ้าชนิด 0.6/1 KV ตามมาตรฐาน IEC 60502 หรือ มาตรฐาน IEC 60332-1-3
PV Connector (MC4) มาตรฐาน IEC 62852
DC Fuse มาตรฐาน IEC 60269-6
DC Surge มาตรฐาน IEC 61643-11
AC Cable มาตรฐาน IEC 60502-1
AC Breaker มาตรฐาน IEC 60898-1 หรือ IEC 60947-2
ลำดับที่
1.
2.
3.
–
4.
5.
6.
–
7.
8.
9.
10.
11.
รายชื่ออุปกรณ์
PV Module ชนิด Crystalline Silicon
PV Module ชนิด Thin Film
On Grid Inverter
–
DC Breaker
Disconnection Switch
PV Cable (DC Cable)
–
PV Connector (MC4)
DC Fuse
DC Surge
AC Cable
AC Breaker
มาตรฐานที่เหมาะสมในการเลือกใช้งาน
มาตรฐาน มอก. 1843 หรือได้รับรอบมาตรฐาน IEC 61215
มาตรฐาน มอก. 2210 หรือได้รับรอบมาตรฐาน IEC 61646
มาตรฐาน IEC 62109-1,IEC 62109-1,IEC 61727 และ IEC621106
(และต้องผ่านการรับรองจากการไฟฟ้าที่รับผิดชอบ ณ.จุดติดตั้ง)
มาตรฐาน IEC 60947-2
มาตรฐาน IEC 60947
ทนอุณหภูมิได้ไม่น้อยกว่า 80 ํC หรือเป็นสายไฟฟ้าชนิด 0.6/1 KV
ตามมาตรฐาน IEC 60502 หรือ มาตรฐาน IEC 60332-1-3
มาตรฐาน IEC 62852
มาตรฐาน IEC 60269-6
มาตรฐาน IEC 61643-11
มาตรฐาน IEC 60502-1
มาตรฐาน IEC 60898-1 หรือ IEC 60947-2
ปลอดภัย
อุปกรณ์มีคุณภาพสูง
ประสบการณ์
ในวงการธุรกิจ
การติดตั้งมากกว่า 15 ปี
ออกแบบโดยทีมวิศวกร
ที่ได้มาตรฐาน
ใช้เครื่องมือตรวจสอบ เที่ยงตรง ก่อนส่งมอบ
ดูแลหลังการขาย 25 ปี
SAVER PACKAGE
STANDARD PACKAGE
SPECIAL PACKAGE 1
SPECIAL PACKAGE 2
**ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำรวจหน้างานฟรี
สนใจติดตั้ง Solar Rooftop ออกแบบระบบให้ตรงตามความต้องการ ลดค่าไฟบ้านได้สูงสุด 60% ดำเนินการขออนุญาตให้ทุกขั้นตอน
โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ จัดว่าเป็น พลังงานสะอาดจากธรรมชาติที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว โซลาร์เซลล์ ยังเป็น “พลังงานทางรอด” ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขวิกฤตพลังงานที่โลกของเรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้จริง และสามารถใช้ได้อย่างไม่จำกัด โดยไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตใดๆ ด้วยเหตุนี้ โซลาร์เซลล์ จึงเป็นทางรอดของเป้าหมาย SDGs7 Affordable and Clean Energy ที่ต้องการผลักดันให้ทุกคนหันมาใช้พลังงานสะอาด และทำให้ทุกๆ พื้นที่บนโลกรอดพ้นวิกฤติพลังงาน และเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืนในราคาที่เหมาะสม
การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน นิยมใช้ซิลิคอน (Si) ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำคัญในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ นอกจากนี้ ยังมีวัสดุอื่นๆ ที่สามารถนำมาผลิตโซลาร์เซลล์ได้ เช่น แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide), อินเดียม ฟอสไฟด์ (Indium Phosphide), แคดเมียม เทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ (Copper Indium Di selenide) เป็นต้น
เมื่อมีแสงอาทิตย์มาตกกระทบแผงโซลาร์เซลล์ จะเกิดการเปลี่ยนจากพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC current) ส่งผ่านเครื่องแปลงไฟ (อินเวอร์เตอร์) เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Current) และจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในอาคาร (MDB) และจะผสมกับไฟฟ้าของการไฟฟ้า จากนั้นจะไหลไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อย่างอัตโนมัติ
ใช้งานไม่ได้ เนื่องจากระบบที่ติดตั้งเป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า (On-Grid) ดังนั้น เมื่อไฟฟ้าดับเครื่องแปลงไฟ (Inverter) จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าในกรณีที่มีการซ่อมระบบ เนื่องจากหากระบบไม่หยุดทำงาน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบ solar cell อาจจะย้อนเข้าระบบสายส่งและทำให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงานแก้ไขระบบไฟฟ้าได้
ติดตั้งได้กับหลังคาทุกชนิด ยกเว้นหลังคาสังกะสี และหลังคาลอนคู่ (Roman Tile) ที่อายุมากกว่า 10 ปี หลังคาที่มีความชันสูงเกินกว่า 60 องศา จะไม่แนะนำให้ติดตั้ง
โดยปกติแล้วน้ำฝนที่ตกลงมาและความลาดเอียงของการติดตั้งจะทำให้ฝุ่นละอองต่างๆ ได้รับการชะล้างโดยธรรมชาติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหากต้องการที่จะทำความสะอาดแผงเองก็สามารถทำได้ โดยเพียงฉีดน้ำขึ้นเป็นละอองคล้ายฝนตก ฉีดน้ำเฉพาะบริเวณที่เป็นกระจกนิรภัย หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำเข้าบริเวณใต้แผงโซลาร์เซลล์ และควรล้างในช่วงที่ไม่มีแดด
อย่างไรก็ตามตลอดอายุสัญญาโครงการ ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สิ่งที่ลดความเข้มของแสง เช่น เงา, เมฆ, ฝุ่น, ใบไม้, ความลาดเอียงของการติดตั้ง อย่างไรก็ตามตลอดอายุสัญญาโครงการ ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ค่าใช้จ่ายในการลงทุนประมาณ 150,000-300,000 บาท
อุปกรณ์มีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี
สามารถใช้ได้เหมือนไฟฟ้าแบบปกติทั่วไป เช่น ใช้สำหรับใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้านได้ทุกชนิด
ในแต่ละวันแสงอาทิตย์จะอยู่กับเราประมาณ 12 ชั่วโมง ซึ่งระบบโซลาร์เซลล์ จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 โดยเฉลี่ยเป็น 5 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากบางวันอาจมีสภาพอากาศมืดครึ้มหรือปริมาณก้อนเมฆที่เลื่อนผ่านในแต่ละพื้นที่
การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ – การทำงานของพวกมันไม่ได้ทำให้เกิดการปล่อยสารพิษสู่ชั้นบรรยากาศ
เงียบ – ระบบ PV ไม่ปล่อยเสียงรบกวนมากเกินไป ซึ่งทำให้สะดวกมาก
ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างสมบูรณ์
เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องอาศัยการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงก่อให้เกิดการเผาก๊าซ CO2 น้อยตลอดอายุการใช้งาน
2) พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด
3) พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย
4) พลังงานแสงอาทิตย์เบบติดตั้งบนหลังคาสามารถผลิตไฟฟ้าและช่วยลดบิลค่าไฟฟ้าได้
5) ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษสู่สภาพอากาศ (Zero Emission)
การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาจะไม่ทำให้ภายในอาคารร้อนขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร และลดการทำงานของระบบปรับอากาศได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะแผงโซลาร์เซลล์จะเป็นปราการแรกที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์จึงสามารถช่วยกรองแสงส่วนหนึ่งได้ก่อนความร้อนและแสงจะส่องถึงหลังคาอาคาร
ระบบโซลาร์จะถูกออกแบบให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่า ซึ่งเป็นไปตามหลักวิศวกรรม โอกาสที่ฟ้าจะผ่าจะมีเหมือนสถานที่อื่นๆ ทั่วไปตามปกติ การติดตั้ง Solar cell ไม่ได้เพิ่มโอกาสให้เกิดฟ้าผ่า เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์ไม่ได้เป็นอุปกรณ์ล่อฟ้า นอกจากนี้ ในการติดตั้งยังมีการวางระบบ การติดตั้งสายดินเพื่อเป็นการป้องกันฟ้าผ่าอีกด้วย
การบำรุงรักษาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) และการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ระบบโซล่าทำงานได้เต็มประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน
ปัจจุบัน ภาครัฐมีนโยบายรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานจากประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีกำลังติดตั้งไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 10 กิโลวัตต์ สำหรับ 3 เฟส
โดยทั่วไปการลงทุนติดตั้งระบบโซล่า จะคืนทุนในระยะเวลา 3-6 ปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณการใช้ไฟฟ้า หรือธุรกิจของคุณได้รับการส่งเสริมต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ยพิเศษจากสถาบันการเงิน มาตรการการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งสมารถเสมือนช่วยลดการลงทุนถึง 50%
ระบบโซล่าจะผลิตไฟฟ้าตามช่วงความเข้มแสง ถ้ามีความเข้มแสงที่เหมาะสม ระบบโซล่าจะผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับแดดแรงหรือไม่แรง
ในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ บริษัทที่รับติดตั้งจะต้องทำเรื่องขออนุญาต และคำนวณจำนวนการติดตั้งไม่ให้เกินขนาดหม้อแปลงในพื้นที่นั้นๆ อยู่แล้ว
การติดตั้งโซลาร์เซลล์สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้จริง ขึ้นอยู่กับขนาดของแผงที่ติดตั้งและกำลังการผลิตไฟฟ้า โซลาร์เซลล์สามารถแปลงเป็นไฟฟ้าไว้ใช้ในช่วงเวลากลางวัน ช่วยลดค่าไฟได้ 40-80% ต่อเดือน
สำหรับค่าบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์ เช่น ค่าทำความสะอาดแผง ค่าเปลี่ยน Inverter ฯลฯ จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานและชนิดอุปกรณ์ที่เลือกใช้
ขนาดของโซลาร์เซลล์ตามท้องตลาดที่นิยมติดกันอยู่ที่ประมาณ 3 kWp ขึ้นไป และเพื่อความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ควรติดตั้งขนาดของระบบไม่สูงไปกว่าค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าฐานในช่วงกลางวัน (Base Load) เพราะจะทำให้ผู้ติดตั้งสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์จะมีต้นทุนคงที่ เช่น ค่าแรงติดตั้งระบบ เป็นต้น ซึ่งต้นทุนดังกล่าวไม่แปรตามขนาด ดังนั้น ขนาดโซลาร์เซลล์ต่ำกว่า 3 kWp ก็ติดตั้งได้เช่นกัน แต่ต้นทุนเฉลี่ยต่อ kWp ก็จะสูงขึ้น
Solar Cell 1 กิโลวัตต์ (ขนาดแผงโซล่า 120 X 60 เซนติเมตร จำนวน 10 แผง) ผลิตไฟฟ้าได้ 1,300 kWh/yr (หน่วยต่อปี
การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG emissions = Activity Data x Emission Factor
= 1,300 kWh x 0.6933 kgCO2e/kWh
= 901.3 kgCO2e
ดังนั้น Solar Cell 1 กิโลวัตต์ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ 901.3 kgCO2e ต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ประมาณ 101 ต้น (การปลูกต้นไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 8 กิโลกรัมต่อปี)
มีความเป็นไปได้ หากการติดตั้งไม่ได้ถูกออกแบบอย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้น ควรใช้บริการบริษัทรับติดตั้งที่ได้มาตรฐาน และก่อนการติดตั้ง จำเป็นต้องมีวิศวกรสำรวจโครงสร้างอาคาร เพื่อทำการออกแบบให้เหมาะสมกับโครงสร้างและชนิดของหลังคา นอกจากนี้ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ควรมีพื้นที่หลังคาพอให้สามารถเข้าถึงแผงได้เพื่อการซ่อมบำรุงในภายหลัง
© 2020 SOURCECODE CO., LTD. ALL RIGHTS RESERVED | PRIVACY POLICY | PERSONAL DATA REMOVAL REQUEST FORM
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ