
ปลอดภัย
อุปกรณ์มีคุณภาพสูง

ประสบการณ์ในวงการธุรกิจ
การติดตั้งมากกว่า 15 ปี


ดูแลหลังการขาย 25 ปี

ออกแบบโดยทีมวิศวกร
ที่ได้มาตรฐาน

เปลี่ยนหลังคาบ้านที่ว่างเป็น โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
โซล่าเซลล์ หรือ เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) หรือ เซลล์โฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic cell) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษ ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์นั้น จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันที รวมทั้งสามารถเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้งานภายหลังได้
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานสะอาดและไม่สร้างมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อมและไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Co2) เหมือนกับแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น น้ำมัน, โรงไฟฟ้าที่มีกระบวนการผลิตจากก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โซล่าเซลล์ (Solar Cell) เป็นพลังงาน ที่ใช้แล้วไม่มีวันหมดไป
Hybrid System
Off grid System
On grid System
คือระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยรวมขอดีของทั้ง solar on grid กับ off grid กล่าวคือ ระบบมีการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าสำหรับช่วงที่ไม่มีแดดและมีการใช้แบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานส่วนที่ผลิตเหลือในตอนกลางวันไปใช้งานในตอนกลางคืนด้วย (คล้ายๆ รถยนต์ hybrid ที่มีการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์และชาร์ตแบตเตอรี่ไปในขณะที่เบรค)
คือ ระบบ solar cell ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกเก็บในแบตเตอรี่ และนำมาใช้งานเมื่อเราเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยปริมาณความจุของแบตเตอรี่ (จำนวนลูกแบตเตอรี่) จะขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้พลังงานของบ้านแต่ละหลัง
เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหรือสายส่งจากระบบการไฟฟ้า ซึ่งในลักษณะนี้จะเรียกกว่าการเชื่อมต่อระบบเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์ (ก่อนการติดตั้งจะต้องขออนุญาตการไฟฟ้าเสมอ) ซึ่ง On Grid ถือเป็นระบบที่คุ้มค่ามากที่สุดในตอนนี้
อินเวอร์เตอร์ แบบออนกริด จะทำงานเมื่อมีเงื่อนไขว่า มีไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ และมีไฟบ้านจึงจะทำงานได้ เนื่องจากเป็นการป้องกันเมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดับแล้วเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาซ่อมไฟ อาจได้รับอันตรายได้ โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซลาร์เซลล์ จะถูกนำมาใช้งานในตอนกลางวัน แต่เมื่อมีการใช้ไฟมากเกินว่าระบบผลิตได้ ระบบจะจ่ายไฟบ้านเข้ามาเสริมอีกแรง และเมื่อตอนเย็นใกล้ค่ำโวลท์ของแผงโซลาร์จะลดลงเรื่อยๆ เมื่อต่ำถึงเกณฑ์ที่กำหนด อินเวอร์เตอร์ จะปิดตัวลงอัตโนมัติและกลับไปใช้ไฟบ้านตามปกติ รอรุ่งเช้าของวันใหม่เมื่อมีแสงสว่างโวลท์ของแผงโซลาร์จะค่อยๆสูงขึ้น ทำให้อินเวอร์เตอร์กลับมาทำงานอีกครั้ง
อินเวอร์เตอร์
แผงโซล่าเซลล์
คอนโทรล เบรคเกอร์ DC, AC Surge
อุปกรณ์ยึดแผงและโครงสร้างรองรับแผง
อุปกรณ์การเดินสายไฟฟ้า สายไฟ DC ข้อต่อสาย MC4
ลำดับที่
1.
2.
3.
–
4.
5.
6.
–
7.
8.
9.
10.
11.
รายชื่ออุปกรณ์
PV Module ชนิด Crystalline Silicon
PV Module ชนิด Thin Film
On Grid Inverter
–
DC Breaker
Disconnection Switch
PV Cable (DC Cable)
–
PV Connector (MC4)
DC Fuse
DC Surge
AC Cable
AC Breaker
มาตรฐานที่เหมาะสมในการเลือกใช้งาน
มาตรฐาน มอก. 1843 หรือได้รับรอบมาตรฐาน IEC 61215
มาตรฐาน มอก. 2210 หรือได้รับรอบมาตรฐาน IEC 61646
มาตรฐาน IEC 62109-1,IEC 62109-1,IEC 61727 และ IEC621106
(และต้องผ่านการรับรองจากการไฟฟ้าที่รับผิดชอบ ณ.จุดติดตั้ง)
มาตรฐาน IEC 60947-2
มาตรฐาน IEC 60947
ทนอุณหภูมิได้ไม่น้อยกว่า 80 ํC หรือเป็นสายไฟฟ้าชนิด 0.6/1 KV
ตามมาตรฐาน IEC 60502 หรือ มาตรฐาน IEC 60332-1-3
มาตรฐาน IEC 62852
มาตรฐาน IEC 60269-6
มาตรฐาน IEC 61643-11
มาตรฐาน IEC 60502-1
มาตรฐาน IEC 60898-1 หรือ IEC 60947-2
มาตรฐาน มอก. 1843 หรือได้รับรอบมาตรฐาน IEC 61215
PV Module ชนิด Thin Film มาตรฐาน มอก. 2210 หรือได้รับรอบมาตรฐาน IEC 61646
On Grid Inverter มาตรฐาน IEC 62109-1,IEC 62109-1,IEC 61727 และ IEC621106 (และต้องผ่านการรับรองจากการไฟฟ้าที่รับผิดชอบ ณ.จุดติดตั้ง)
DC Breaker มาตรฐาน IEC 60947-2
Disconnection Switch มาตรฐาน IEC 60947
PV Cable (DC Cable) ทนอุณหภูมิได้ไม่น้อยกว่า 80 ํC หรือเป็นสายไฟฟ้าชนิด 0.6/1 KV ตามมาตรฐาน IEC 60502 หรือ มาตรฐาน IEC 60332-1-3
PV Connector (MC4) มาตรฐาน IEC 62852
DC Fuse มาตรฐาน IEC 60269-6
DC Surge มาตรฐาน IEC 61643-11
AC Cable มาตรฐาน IEC 60502-1
AC Breaker มาตรฐาน IEC 60898-1 หรือ IEC 60947-2
SAVER PACKAGE
STANDARD PACKAGE
SPECIAL PACKAGE 1
SPECIAL PACKAGE 2
โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ จัดว่าเป็น พลังงานสะอาดจากธรรมชาติที่ดีที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้ว โซลาร์เซลล์ ยังเป็น “พลังงานทางรอด” ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขวิกฤตพลังงานที่โลกของเรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งยังเป็นพลังงานที่ทุกคนเข้าถึงได้จริง และสามารถใช้ได้อย่างไม่จำกัด โดยไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตใดๆ ด้วยเหตุนี้ โซลาร์เซลล์ จึงเป็นทางรอดของเป้าหมาย SDGs7 Affordable and Clean Energy ที่ต้องการผลักดันให้ทุกคนหันมาใช้พลังงานสะอาด และทำให้ทุกๆ พื้นที่บนโลกรอดพ้นวิกฤติพลังงาน และเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืนในราคาที่เหมาะสม
การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน นิยมใช้ซิลิคอน (Si) ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำคัญในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ นอกจากนี้ ยังมีวัสดุอื่นๆ ที่สามารถนำมาผลิตโซลาร์เซลล์ได้ เช่น แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide), อินเดียม ฟอสไฟด์ (Indium Phosphide), แคดเมียม เทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ (Copper Indium Di selenide) เป็นต้น
เมื่อมีแสงอาทิตย์มาตกกระทบแผงโซลาร์เซลล์ จะเกิดการเปลี่ยนจากพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (DC current) ส่งผ่านเครื่องแปลงไฟ (อินเวอร์เตอร์) เพื่อแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Current) และจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในอาคาร (MDB) และจะผสมกับไฟฟ้าของการไฟฟ้า จากนั้นจะไหลไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อย่างอัตโนมัติ
ใช้งานไม่ได้ เนื่องจากระบบที่ติดตั้งเป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า (On-Grid) ดังนั้น เมื่อไฟฟ้าดับเครื่องแปลงไฟ (Inverter) จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าในกรณีที่มีการซ่อมระบบ เนื่องจากหากระบบไม่หยุดทำงาน ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบ solar cell อาจจะย้อนเข้าระบบสายส่งและทำให้เกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงานแก้ไขระบบไฟฟ้าได้
ติดตั้งได้กับหลังคาทุกชนิด ยกเว้นหลังคาสังกะสี และหลังคาลอนคู่ (Roman Tile) ที่อายุมากกว่า 10 ปี หลังคาที่มีความชันสูงเกินกว่า 60 องศา จะไม่แนะนำให้ติดตั้ง
โดยปกติแล้วน้ำฝนที่ตกลงมาและความลาดเอียงของการติดตั้งจะทำให้ฝุ่นละอองต่างๆ ได้รับการชะล้างโดยธรรมชาติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามหากต้องการที่จะทำความสะอาดแผงเองก็สามารถทำได้ โดยเพียงฉีดน้ำขึ้นเป็นละอองคล้ายฝนตก ฉีดน้ำเฉพาะบริเวณที่เป็นกระจกนิรภัย หลีกเลี่ยงการฉีดน้ำเข้าบริเวณใต้แผงโซลาร์เซลล์ และควรล้างในช่วงที่ไม่มีแดด
อย่างไรก็ตามตลอดอายุสัญญาโครงการ ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สิ่งที่ลดความเข้มของแสง เช่น เงา, เมฆ, ฝุ่น, ใบไม้, ความลาดเอียงของการติดตั้ง อย่างไรก็ตามตลอดอายุสัญญาโครงการ ทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ค่าใช้จ่ายในการลงทุนประมาณ 150,000-300,000 บาท
อุปกรณ์มีอายุการใช้งานประมาณ 25 ปี
สามารถใช้ได้เหมือนไฟฟ้าแบบปกติทั่วไป เช่น ใช้สำหรับใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้านได้ทุกชนิด
ในแต่ละวันแสงอาทิตย์จะอยู่กับเราประมาณ 12 ชั่วโมง ซึ่งระบบโซลาร์เซลล์ จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 โดยเฉลี่ยเป็น 5 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากบางวันอาจมีสภาพอากาศมืดครึ้มหรือปริมาณก้อนเมฆที่เลื่อนผ่านในแต่ละพื้นที่
การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ – การทำงานของพวกมันไม่ได้ทำให้เกิดการปล่อยสารพิษสู่ชั้นบรรยากาศ
เงียบ – ระบบ PV ไม่ปล่อยเสียงรบกวนมากเกินไป ซึ่งทำให้สะดวกมาก
ปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างสมบูรณ์
เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องอาศัยการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงก่อให้เกิดการเผาก๊าซ CO2 น้อยตลอดอายุการใช้งาน
2) พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด
3) พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาด ที่ทุกคนเข้าถึงได้ และเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย
4) พลังงานแสงอาทิตย์เบบติดตั้งบนหลังคาสามารถผลิตไฟฟ้าและช่วยลดบิลค่าไฟฟ้าได้
5) ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษสู่สภาพอากาศ (Zero Emission)
การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาจะไม่ทำให้ภายในอาคารร้อนขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร และลดการทำงานของระบบปรับอากาศได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะแผงโซลาร์เซลล์จะเป็นปราการแรกที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์จึงสามารถช่วยกรองแสงส่วนหนึ่งได้ก่อนความร้อนและแสงจะส่องถึงหลังคาอาคาร
ระบบโซลาร์จะถูกออกแบบให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่า ซึ่งเป็นไปตามหลักวิศวกรรม โอกาสที่ฟ้าจะผ่าจะมีเหมือนสถานที่อื่นๆ ทั่วไปตามปกติ การติดตั้ง Solar cell ไม่ได้เพิ่มโอกาสให้เกิดฟ้าผ่า เนื่องจากแผงโซลาร์เซลล์ไม่ได้เป็นอุปกรณ์ล่อฟ้า นอกจากนี้ ในการติดตั้งยังมีการวางระบบ การติดตั้งสายดินเพื่อเป็นการป้องกันฟ้าผ่าอีกด้วย
การบำรุงรักษาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance) และการบำรุงรักษาเชิงแก้ไขปรับปรุง (Corrective Maintenance) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ระบบโซล่าทำงานได้เต็มประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน
ปัจจุบัน ภาครัฐมีนโยบายรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานจากประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีกำลังติดตั้งไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ สำหรับระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 10 กิโลวัตต์ สำหรับ 3 เฟส
โดยทั่วไปการลงทุนติดตั้งระบบโซล่า จะคืนทุนในระยะเวลา 3-6 ปี ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปริมาณการใช้ไฟฟ้า หรือธุรกิจของคุณได้รับการส่งเสริมต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ยพิเศษจากสถาบันการเงิน มาตรการการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ซึ่งสมารถเสมือนช่วยลดการลงทุนถึง 50%
ระบบโซล่าจะผลิตไฟฟ้าตามช่วงความเข้มแสง ถ้ามีความเข้มแสงที่เหมาะสม ระบบโซล่าจะผลิตไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับแดดแรงหรือไม่แรง
ในการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ บริษัทที่รับติดตั้งจะต้องทำเรื่องขออนุญาต และคำนวณจำนวนการติดตั้งไม่ให้เกินขนาดหม้อแปลงในพื้นที่นั้นๆ อยู่แล้ว
การติดตั้งโซลาร์เซลล์สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้จริง ขึ้นอยู่กับขนาดของแผงที่ติดตั้งและกำลังการผลิตไฟฟ้า โซลาร์เซลล์สามารถแปลงเป็นไฟฟ้าไว้ใช้ในช่วงเวลากลางวัน ช่วยลดค่าไฟได้ 40-80% ต่อเดือน
สำหรับค่าบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์ เช่น ค่าทำความสะอาดแผง ค่าเปลี่ยน Inverter ฯลฯ จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานและชนิดอุปกรณ์ที่เลือกใช้
ขนาดของโซลาร์เซลล์ตามท้องตลาดที่นิยมติดกันอยู่ที่ประมาณ 3 kWp ขึ้นไป และเพื่อความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ควรติดตั้งขนาดของระบบไม่สูงไปกว่าค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าฐานในช่วงกลางวัน (Base Load) เพราะจะทำให้ผู้ติดตั้งสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์จะมีต้นทุนคงที่ เช่น ค่าแรงติดตั้งระบบ เป็นต้น ซึ่งต้นทุนดังกล่าวไม่แปรตามขนาด ดังนั้น ขนาดโซลาร์เซลล์ต่ำกว่า 3 kWp ก็ติดตั้งได้เช่นกัน แต่ต้นทุนเฉลี่ยต่อ kWp ก็จะสูงขึ้น
Solar Cell 1 กิโลวัตต์ (ขนาดแผงโซล่า 120 X 60 เซนติเมตร จำนวน 10 แผง) ผลิตไฟฟ้าได้ 1,300 kWh/yr (หน่วยต่อปี
การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG emissions = Activity Data x Emission Factor
= 1,300 kWh x 0.6933 kgCO2e/kWh
= 901.3 kgCO2e
ดังนั้น Solar Cell 1 กิโลวัตต์ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ 901.3 kgCO2e ต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ประมาณ 101 ต้น (การปลูกต้นไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 8 กิโลกรัมต่อปี)
มีความเป็นไปได้ หากการติดตั้งไม่ได้ถูกออกแบบอย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้น ควรใช้บริการบริษัทรับติดตั้งที่ได้มาตรฐาน และก่อนการติดตั้ง จำเป็นต้องมีวิศวกรสำรวจโครงสร้างอาคาร เพื่อทำการออกแบบให้เหมาะสมกับโครงสร้างและชนิดของหลังคา นอกจากนี้ การติดตั้งโซลาร์เซลล์ ควรมีพื้นที่หลังคาพอให้สามารถเข้าถึงแผงได้เพื่อการซ่อมบำรุงในภายหลัง
© 2020 SOURCECODE CO., LTD. ALL RIGHTS RESERVED | PRIVACY POLICY | PERSONAL DATA REMOVAL REQUEST FORM
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ